Follow us

TEAM GROUP

Home Q&A

Q&A

Q : Backlog ปีนี้เป็นเท่าไหร่?

A : สำหรับปี 2561 ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา บริษัทมีอัตราการรับงานใหม่ใกล้เคียงกับอัตราการผลิตงาน ส่งผลให้บริษัทคาดการณ์แนวโน้มปริมาณ Backlog ณ สิ้นปี 2561 มีโอกาสออกมาใกล้เคียงกับ Backlog ณ สิ้นไตรมาส 3/61 ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าการเร่งอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ของ ครม. โดยเฉพาะ 5 โครงการหลักในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกำลังเร่งทยอยออกมาในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญสำหรับการเติบโตของ Backlog ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป โดยบริษัทวางเป้าการเติบโตของ backlog ในอัตราใกล้เคียงกับเป้าการเติบโตของอัตราการรับรู้รายได้ประมาณ 5% – 15% ต่อปี

Q : มีการลงทุนในแถบ CLMV หรือไม่ ? บริษัทมีการจับมือกับบริษัทต่างประเทศแค่ไหน และช่วยเพิ่มโอกาสในต่างประเทศได้มากเท่าไหร่ ?

A : ณ ปัจจุบัน TEAMG มีการตั้งบริษัทลูกเพื่อลงทุนในประเทศลาวคือบริษัท LTEAM สำหรับให้บริการด้านการทำ EIA แบบครบวงจรในประเทศลาว นอกจากนี้ TEAMG ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากงานต่างประเทศ (I) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่ง TEAMG ได้เข้าไปวางรากฐาน รวมทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจมากมาย ทั้งในลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และ เวียดนาม มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีผลงานที่เด่นชัดมากมายเช่น งานเขื่อนขนาดใหญ่, งานทางด่วนในประเทศลาว และล่าสุดบริษัทมีโอกาสดีในการจับมือกับบริษัทต่างๆ ซึ่งถือเป็นบริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษาขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเพื่อร่วมกันพัฒนางานในประเทศลาว นอกจากนี้บริษัทยังวางเป้าหมายระยะยาวในการเติบโตไปใน 10 ประเทศในกลุ่ม ASEAN (ปัจจุบันครอบคลุมแล้ว 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว, พม่า, เวียดนาม, กัมพูชา และ มาเลเซีย)

Q : บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการนำบริษัทเข้าตลาดเท่าไหร่ เป็น One-Time เท่าไหร่ และจะเกิดขึ้นอีกเท่าไหร่ ?

A : ค่าใช้จ่ายสำหรับการนำเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ของบริษัท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย และตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) ตามที่เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม IPO โดยตรงในช่วงก่อนที่จะเอาหุ้นสามัญของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ไม่มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท เนื่องจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำไป settle กับทุนที่ได้จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ผ่านกิจกรรม IPO ได้โดยตรง

Q : ธุรกิจของบริษัทมีโอกาสเกิด Disruptive เหมือนหลายธุรกิจหรือไม่ ? ปัจจัยที่จะมากระทบมีอะไรบ้าง ?

A : เนื่องจากธุรกิจวิศวกรรมที่ปรึกษาเป็นธุรกิจที่มีการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ทันสมัยควบคู่ไปกับประสบการณ์ความชำนาญของบุคลากร ทำให้บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจวิศวกรรมที่ปรึกษาเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดจาก Disruptive Technology (ที่มีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน) อย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา บริษัทมุ่งเน้นการลงทุนใน Advanced Technology เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Drone), Building Information Modelling (BIM) และ Construction Management application เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ รวมทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจ และป้องกันการ Obsolete ของเทคโนโลยีต่างๆที่บริษัทใช้ในการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอ

Q : จากการประมาณการ บริษัทคาดว่าจะมีศักยภาพเต็มที่ในการสร้างรายได้เท่าไหร่ ? Backlog 3,500 ล้านบาท คิดเป็นกี่ % ของ Full Capacity?

A : ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานประจำกว่า 1,500 คน รวมทั้งยังมีเครือข่ายที่ปรึกษาภายนอกที่แข็งแกร่งและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในหลากหลายสาขา ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการรับงานและการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท โดยบริษัทประเมินว่าจากทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งในปัจจุบัน บริษัทมีศักยภาพทั้งในแง่ของการรับงานใหม่และการสร้างรายได้สูงกว่า 2 พันล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีมุมมองเชิงอนุรักษ์นิยมต่อผลการดำเนินงาน โดยตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป บริษัทได้มีการวางเป้าหมายการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปของรายได้และ Backlog ประมาณ 5% – 15% ต่อปี  

Q : Turnover rate เป็นอย่างไร? มีแนวทางการสรรหาบุคลากรอย่างไร ?

A : อัตรา Turnover rate ในปัจจุบันอยู่ในระดับเฉลี่ยปกติของกิจการประมาณ 10% – 15% โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยได้มีการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้เกิดการบริหารจัดการที่มีระบบ มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังมีแผนฝึกอบรมเพื่อพัฒนา Successor รวมทั้งมีการทำ Knowledge management ภายในองค์กรเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรของบริษัทมีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับธุรกิจตลอดเวลา และบริษัทได้รวบรวม Knowhow ต่างๆจากประสบการณ์ที่บริษัทได้ทำงานมากว่า 40 ปี จัดเก็บเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ให้คงอยู่กับบริษัทไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องมีการทดแทนบุคลากรที่หายไปบริษัทก็ยังคงสามารถสร้างบุคลากรใหม่มาทดแทนได้โดยอาศัยคลังข้อมูลดังกล่าวในการ run business ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้บริษัทยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีค่าให้อยู่กับบริษัทโดยให้ความสำคัญในทุกๆด้านทั้งแง่บรรยากาศการทำงาน โอกาสในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ความก้าวหน้าในสายงาน (Career Path) และผลตอบแทนที่เหมาะสม

Q : คู่แข่งของเราคือใคร ?

A : แม้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการคลังเป็นจำนวนมาก แต่หากพิจารณาเฉพาะบริษัทที่มีประสบการณ์, ศักยภาพ และบุคลากรพร้อมสำหรับการรับงานที่มีขอบเขตและความซับซ้อนของงาน ใกล้เคียงกับบริษัทนั้น ยังถือว่ามีจำนวนน้อยมากดังตัวอย่างที่เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท และในหลายๆ โอกาสบริษัทเหล่านั้นยังถือเป็นพันธมิตรที่ดีกับ TEAMG ในการร่วมมือกันพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ต่างๆของประเทศอีกด้วย โดยการร่วมมือกันดังกล่าว เพื่อตอบโจทย์ของสภาวะอุตสาหกรรมวิศวกรรมที่ปรึกษาในปัจจุบันซึ่งยังคงมี Demand มากกว่า Supply เป็นจำนวนมาก

Q : รถไฟฟ้าสายสีม่วงบริษัทได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร ? คาดว่าจะมีการก่อสร้างช่วงไหน ?

A : บริษัทคาดว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วง เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ยังไม่มีการเปิดประมูลในเร็วๆนี้ โดยสายที่กำลังจะมีการเปิดประมูลคือรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ – ตลิ่งชัน ซึ่งบริษัทได้เข้าไปติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างโอกาสในการรับงานในส่วนต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทได้รับโอกาสเข้าไปรับงานในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ซึ่งเป็นเฟสเริ่มต้นไปแล้ว

Q : ที่ผ่านมารายได้ที่มาจาก 4 segments หลักของ บริษัท segment ใดมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross margin) มากที่สุด และการรับงานภาครัฐบาล (G) เป็นหลักจะมีผลกระทบต่ออัตรากำไรในอนาคตหรือไม่ ? อัตรากำไรของงานต่างประเทศเป็นอย่างไร ?

A : สำหรับอัตรากำไรขั้นต้นของแต่ละโครงการนั้นไม่ได้แปรผันโดยตรงตาม segment ของงาน แต่ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของงานเป็นหลัก กล่าวคือหากโครงการมีความซับซ้อน ต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์สูง มักมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากพิจารณาจากผลการดำเนินงานในอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตรากำไรขั้นต้นปกติ (Normalized Gross Profit margin) ของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 33% – 34% โดยบริษัทตั้งเป้ารักษาอัตราการทำกำไรดังกล่าวสำหรับโครงการในทุก Segment

Q : ค่าแรงที่ปรับขึ้นมีผลกระทบกับบริษัทหรือไม่

A : การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัท เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่เป็นพนักงานประจำในสาขาวิศวกร สถาปนิก และ นักวิชาการ ซึ่งเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ไม่ได้อ้างอิงผลตอบแทนตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศแต่อย่างใด

Q : ขอให้ update โครงการเขื่อนลาวที่แตกทีความเสียหายต่อบริษัทไหม? , ได้ยินว่า น้ำท่วมใหญ่จากเขื่อนที่ลาว ทาง TEAMG เข้าไปมีส่วนร่วมจริงไหม? , ถามความคืบหน้าผลกระทบเขื่อนแตกในลาว และผลกระทบต่อบริษัท? , อยากทราบ ผลกระทบจากกรณีเขื่อนที่ สปป.ลาวประสบปัญหาครับ?

A : ตามสัญญาบริษัทลงนามรับจ้างในฐานะที่ปรึกษาด้านการคุมงานแก่บริษัทผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นบริษัทไทย และเป็นหนึ่งในกลุ่มเจ้าของโครงการ โดยบริษัทมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาก่อสร้างให้ใช้อุปกรณ์ และวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับการอนุมัติจากบริษัทที่กลุ่มเจ้าของงานแต่งตั้งเท่านั้น  โดย TEAMG ได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพตลอดกระบวนการ รวมทั้งมีเอกสารหลักฐานยืนยันได้ในทุกขั้นตอน ทั้งนี้บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบรายละเอียดโครงสร้างของตัวเขื่อน และไม่ได้เป็นผู้ลงทุนในโครงการดังกล่าว ดังนั้นผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีเพียงความล่าช้าในการปิดโครงการให้แล้วเสร็จ และการจัดสรรกำลังคนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น เนื่องจากจำเป็นต้องมีการเข้าไปสำรวจและซ่อมแซมตัวเขื่อน

Q : ถามเขาหน่อยว่า ธุรกิจของ TEAMG เหมือน PPS ไหม?

A : ธุรกิจของ PPS ซึ่งครอบคลุมการบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการประเภทอสังหาริมทรัพย์ มีความคล้ายคลึงกับ 1 ใน 5 สาขาธุรกิจหลักของ TEAMG โดยลักษณะการประกอบธุรกิจของ PPS มีความใกล้เคียงกับบริษัท TEAM-CM ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยในเครือของ TEAMG

Q : ช่วยชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆของธุรกิจว่ามาจากไหนบ้าง?

A : เนื่องจากลักษณะการประกอบธุรกิจของ TEAMG มีความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบุคลากรเป็นหลัก ดังนั้นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและพนักงานโดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของโครงสร้างต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมด

Q : มีวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไร เนื่องจากเป็น resource หลักของธุรกิจ?

A : บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยได้มีการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้เกิดการบริหารจัดการที่มีระบบ มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังมีแผนฝึกอบรมเพื่อพัฒนา Successor รวมทั้งมีการทำ Knowledge management ภายในองค์กรเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรของบริษัทมีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับธุรกิจตลอดเวลา และบริษัทได้รวบรวม Knowhow ต่างๆจากประสบการณ์ที่บริษัทได้ทำงานมากว่า 40 ปี จัดเก็บเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ให้คงอยู่กับบริษัทไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องมีการทดแทนบุคลากรที่หายไปบริษัทก็ยังคงสามารถสร้างบุคลากรใหม่มาทดแทนได้โดยอาศัยคลังข้อมูลดังกล่าวในการ run business ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงักนอกจากนี้บริษัทยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีค่าให้อยู่กับบริษัทโดยให้ความสำคัญในทุกๆด้านทั้งแง่บรรยากาศการทำงาน โอกาสในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ความก้าวหน้าในสายงาน (Career Path) และผลตอบแทนที่เหมาะสม นอกจากพนักงาน full time กว่า 1,500 คนแล้ว กลุ่มบริษัทยังคงมีเครือข่ายที่ปรึกษาภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในหลากหลายสาขาเพื่อเข้ามาช่วยทำงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างรายได้ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยืดหยุ่น โดยที่ไม่เพิ่มต้นทุนคงที่ (Fixed costs) ให้กับกลุ่มบริษัทอีกด้วย

Q : คาดการณ์ปีหน้า สัดส่วนของรายได้ตามประเภทของงานจะเป็นอย่างไร?

A : บริษัทคาดว่าสัดส่วนโครงสร้างรายได้ปีหน้ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปัจจุบัน โดยงานจากภาครัฐยังคงเป็นสัดส่วนหลัก อย่างไรก็ตามบริษัทมีแผนการในการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากงานต่างประเทศซึ่ง TEAMG ได้เข้าไปวางรากฐานและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMV โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการเติบโตไปใน 10 ประเทศในกลุ่ม ASEAN

Q : อยากทราบว่าโครงการ EEC จะทำให้ backlog เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญได้หรือไม่?

A : ในปัจจุบัน บริษัทได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในโครงการสำคัญๆหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับ EEC เช่น งานพัฒนาเขตพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา, ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง เฟส 3 และ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งบริษัทยังคงดำเนินการติดตามเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในงานส่วนถัดๆไปของโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทมองว่ามีโอกาสสูงในการรับงานเพิ่ม ซึ่งมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับน่าจะทำให้ Backlog ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก

Q : ความเสี่ยงจากการที่โครงการถูกยกเลิกระหว่างทางมีหรือไม่ ?

A : มีโอกาส แต่ความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ที่ผ่านมาบริษัทบริหารความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวอย่างรัดกุม โดยมีการพิจารณาเนื้องานและลูกค้ารวมทั้งผลกระทบหลายๆ ด้านก่อนการรับงานเสมอ นอกจากนี้ งานโครงการของกลุ่มบริษัทเป็นการให้บริการทางวิชาชีพ โดยส่วนใหญ่ หากถูกยกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องชำระค่าบริการตามส่วนที่บริษัทได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด จึงถือว่าความเสี่ยงที่จะเกิดจากการโครงการที่ถูกยกเลิกมีน้อยมาก นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง สัญญาโดยส่วนใหญ่จะระบุเงื่อนไขให้ลูกค้าชำระเงินล่วงหน้าส่วนหนึ่งเมื่อมีการลงนามในสัญญาทันทีอีกด้วย

Q : การได้งานโดยเฉพาะงานภาครัฐซึ่งต้องมีการประมูลงานเทียบกับรายอื่น?

A : โดยปกติ การได้มาของงานวิศวกรรมที่ปรึกษาจะเป็นการแข่งขันกันโดยพิจารณาจากประสบการณ์ของบริษัทและบุคลากรเป็นหลัก โดยไม่ได้เน้นแข่งขันกันด้วยราคาเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบหลักของบริษัท ซึ่งมีประสบการณ์ในสายอาชีพนี้มากว่า 40 ปี ให้บริการมาแล้วกว่า 2,000 โครงการ และมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถรวมทั้งประสบการณ์ในหลากหลายสาขาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความได้เปรียบเมื่อเทียบกับผู้ร่วมประมูลรายอื่นๆ

Q : แนวโน้มครึ่งปีหลัง จะมีกำไรมากกว่าครึ่งปีแรกไหม?

A : ผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังเนื่องจากมีงานรอรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังคงมี Potential upside จากโครงการต่างๆมี่บริษัทมีส่วนร่วมในการเข้าประมูล ทั้งนี้บริษัทยังคงมั่นใจเป้าการเติบโตของรายได้ตลอดทั้งปีที่ระดับไม่น้อยกว่า 10%

Q : โครงการอย่างเช่น EEC ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ มีความเสี่ยงในการเปลี่ยนรัฐบาลไหม?

A : บริษัทเชื่อมั่นว่าการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจคือเป้าหมายหลักของทุกรัฐบาล ซึ่งโครงการพัฒนาระบบ Infrastructure และพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่เช่น EEC มีความจำเป็นอย่างสูงสำหรับการเร่งการเติบโตของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม บริษัทจึงประเมินความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับบริษัทมีการกระจาย Backlog Portfolio ไปในหลายภาคส่วนซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวได้อีกด้วย