การจัดการความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม
- บริษัทฯ ยึดมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
- บริษัทฯ และชุมชนบริเวณโดยรอบ ร่วมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการบำบัดน้ำเสียให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด
- การลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากสำนักงาน รวมทั้งมุ่งมั่นในการสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรทุกระดับเพื่อร่วมกำหนดแนวทางในการดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติ
- ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
- พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของอาคาร ทั้งการใช้น้ำ พลังงาน การบำบัดน้ำเสีย การลดปริมาณขยะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- รณรงค์ให้พนักงานปฏิบัติตามแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการใช้ทรัพยากร ทั้งในส่วนของการใช้น้ำ และพลังงาน รวมถึงลดการสร้างขยะ
- สนับสนุนกิจกรรมพร้อมสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานทุกระดับในการดูแลรักษา อนุรักษ์ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- บริษัทตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน บริษัทจึงมีเจตจำนงในการดำเนินการและ/หรือร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติ
โดยบริษัทได้เผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กร (ร้อยละ 100) รับทราบผ่านทางอีเมล และเผยไว้ในระบบ Intranet ของบริษัท ตลอดจนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้บุคลากรตลอดจนผู้ทีสนใจเข้าถึงได้โดยง่าย
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
1) การจัดการพลังงาน
ในปี 2566 บริษัทมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งคำนวณเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 2 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ ดังนี้
อัตราส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อรายได้รวม(กิโลวัตต์-ชั่วโมง/บาท) ของบริษัทในปี 2566 เท่ากับ 0.073%
ในภาพรวมของบริษัท ในช่วงปี 2563-2566 มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าลดลงเนื่องจากมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบ Smart Chiller ทำให้บริษัทประหยัดการใช้พลังงานลงได้
ในปี 2567บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ดังนี้
• เป้าหมายในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า 1%
• เป้าหมายการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อรายได้รวมรวมของบริษัท 1%
2) การจัดการทรัพยากรน้ำ
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ จึงมีการรณรงค์ให้พนักงานใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์น้ำ โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ตรวจสอบการปิดน้ำทุกครั้งเมื่อไม่ใช้อุปกรณ์ และนำอุปกรณ์ในการประหยัดน้ำมาใช้ในอาคาร เช่น ก๊อกน้ำแบบหยุดอัตโนมัติ รวมถึงการตรวจสอบและบํารุงรักษาระบบน้ำประปาให้มีคุณภาพ ไม่มีการรั่วไหล เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน
บริษัทได้เก็บข้อมูลสถิติการใช้น้ำประปาของอาคารทีม ดังนี้
อัตราส่วนปริมาณการใช้น้ำประปาต่อรายได้รวม (ลูกบาศก์เมตร/พันบาท) ของบริษัทในปี 2566 เท่ากับ 1.17%
ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดการใช้น้ำประปา ดังนี้
• เป้าหมายในการลดปริมาณการใช้น้ำประปา 1%
• เป้าหมายการลดปริมาณการใช้น้ำประปาต่อรายได้รวมของบริษัท 1%
3) การบริหารจัดการน้ำเสีย
บริษัทกำหนดแนวทางการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ภายในอาคารทีม โดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาชนิดเติมอากาศแบบมีตัวกลางยึดเกาะ (Fixed Film Aeration System) ขนาด 100 ลบ.ม./วัน เพื่อบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งตามเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนจะปล่อยเข้าสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ
ผลการดำเนินงาน
บริษัท มีการตรวจวัดน้ำเสีย บันทึกและจัดทำรายงาน และทำการดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ หากผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน บริษัทจะต้องดำเนินการแก้ไขคุณภาพน้ำทิ้งให้ผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงระบบระบายน้ำสาธารณะ โดยในปี 2566 บริษัทมีปริมาณน้ำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ดังนี้
4) การจัดการขยะของเสีย และมลพิษ
บริษัทให้ความสำคัญกับการลดขยะ และนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ตามแนวทาง 3R Reduce Reuse Recycle โดยเฉพาะสำหรับกระดาษเสียที่เกิดจากการจัดทำรายงาน มีการรณรงค์ให้นำกลับมาใช้พิมพ์และถ่ายเอกสารส่วนด้านหลังที่ยังใช้ได้ และหลังจากนำมาใช้ประโยชน์ทุกด้านแล้ว จะมีการรวบรวมเพื่อส่งขายเป็นวัสดุรีไซเคิลต่อไป นอกจากนั้น บริษัทมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และคัดแยกขยะที่เป็นขวดพลาสติกเพื่อนำไป Recycle รวมทั้งการเลือกใช้อุปกรณ์สำนักงานที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทมีนโยบายเปลี่ยนมาจัดเก็บเอกสารในรูปแบบดิจิทัล และจัดส่งทางอีเมล เพื่อมุ่งสู่การทำงานแบบ Paperless ลดปริมาณการใช้กระดาษลง เช่น เอกสารวาระการประชุมคณะกรรมการต่างๆ แบบประเมินพนักงาน เป็นต้น นอกจากนั้นยังนำระบบบริหารจัดการเอกสารมาใช้ในทุกโครงการที่เป็นการบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง ลดการใช้เอกสารเวียนภายในบริษัท ทั้งเอกสารทางด้านบัญชีและการเงิน รวมทั้งเอกสารด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
แผนงานข้างต้นถือเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของบริษัทที่กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม ระมัดระวัง ไม่ให้การดำเนินกิจการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณชุมชนใกล้เคียงหรือให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
ผลการดำเนินงาน
ปี 2566 มีปริมาณขยะในองค์กร 129 ตัน และอัตราส่วนปริมาณขยะภายในองค์กรต่อรายได้รวมของบริษัท (กิโลกรัม/รายได้พันบาท) ในปี 2566 เท่ากับ 7.65%
ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดขยะภายในองค์กร ดังนี้
• เป้าหมายในการลดปริมาณขยะภายในองค์กร 2%
• เป้าหมายการลดขยะภายในองค์กรต่อรายได้รวมของบริษัท 2%
5) การจัดการมลพิษทางอากาศ
สำหรับพื้นที่ที่กำลังก่อสร้าง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบของฝุ่นละอองจากยานพาหนะและกระบวนการก่อสร้าง บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมคุณภาพอากาศตามข้อกำหนด โดยมีการฉีดพ่นละอองน้ำ ทำความสะอาดถนน ตรวจสอบการบรรทุกน้ำหนักของยานพาหนะขนส่งวัสดุ รวมทั้งจัดให้มีการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรที่ส่งเสียงดัง และกำหนดเวลาการทำงานที่ไม่รบกวนชุมชนใกล้เคียง
การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและเสียงรบกวน ทำโดยการตรวจวัดและบันทึกค่ามลพิษในอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นที่ค่าฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂)
ผลการควบคุมและเฝ้าระวังด้านมลพิษและของเสียในโครงการก่อสร้าง
ประเด็น |
เป้าหมายในการตรวจวัด |
ผลการดำเนินงานปี 2566 |
การปล่อยก๊าซมลพิษ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂) |
– ไม่เกินค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
– (CO < 30 ppm, SO₂ < 0.30 ppm และ NO₂ < 0.17 ppm)
|
ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
|
ผลการควบคุมการปล่อยมลพิษจากการก่อสร้างอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งหมด แสดงถึงความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนใกล้เคียงของบริษัทฯ
5) การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทตระหนักถึงผลกระทบโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ในปี 2566 บริษัทได้รวบรวมข้อมูลและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรโดยใช้แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์ขององค์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Scope 1) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ของบริษัท เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน การรั่วซึมของสารทำความเย็น และการรั่วไหลของมีเทน (CH4) จากระบบ Septic tank
- ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยบริษัท ดังรายละเอียดในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน”
- ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) เกิดจากการใช้กระดาษ การใช้น้ำประปา และเดินทางทางอากาศของพนักงาน และปริมาณการใช้ขยะ
บริษัทกำหนดแนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเน้นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าตามรายละเอียดในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” และลดการใช้ทรัพยากร วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ทั้งกระดาษ ขวดและถุงพลาสติก นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ นำนโยบาย Paperless มาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ ทั้งการใช้เอกสารดิจิทัลในการประชุมคณะกรรมการต่างๆ ลดการใช้เอกสารเวียนภายในบริษัท เช่น เอกสารทางด้านบัญชีและการเงิน เอกสารด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 บริษัทมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
*สำหรับข้อมูล การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท ใน ปี 2566 ได้รับการทวนสอบโดยบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตปริ้นท์ขององค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในรอบการพิจารณาที่ 3 ของปี 2567
อัตราส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้รวมของบริษัท (ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า/พันบาท) ในปี 2566 เท่ากับ 0.081%
ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
• เป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2%
• เป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้รวมของบริษัท 2%
Scope |
แนวทาง |
Scope 1 |
|
การใช้น้ำมันดีเซลรถยนต์ในองค์กร
การใช้สารเติมเครื่องปรับอากาศ
ค่า BOD จาก Septic Tank |
เปลี่ยนรถยนต์ในองค์กรเป็นรถ Hybrid บางส่วน จัดแผนดำเนินการเปลี่ยนแอร์รุ่นใหม่ทดแทนแอร์เก่า กำหนดเกณฑ์ WFH/Online meeting |
Scope 2 |
|
การใช้ไฟฟ้าในอาคาร |
ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าขององค์กรลง 1 % |
Scope 3 |
|
การใช้กระดาษ
การโดยสารเครื่องบินโดยพนักงาน
การใช้น้ำประปา
ปริมาณขยะในองค์กร |
รณรงค์การทำงาน Paperless/Reuse
เลือกสายการบินที่ปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำ
รณรงค์การประหยัดน้ำในองค์กร
รณรงค์การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ตามแนวทาง 3R Reduce Reuse Recycle |
นอกจากนี้ บริษัทกำหนดเป้าหมายที่จะเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย